วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย


ความหมายของสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด
องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย

1.ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด (Cadiovascular Endurance)... อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 การช่วยฟื้นคืนชีพ


ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR) หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic lifesupport) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก
ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
ภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น

ภาวะหยุดหายใจ (respiratory arrest) และภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) - เป็นภาวะที่มีการหยุดการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจและการไหลเวียนเลือด ส่วนมากมักจะพบว่ามีการหยุดหายใจก่อนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น... อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 สัมพันธ์ดี มีไมตรีเลี่ยงความขัดแย้ง


ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย
2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้
3.การพูด การพูดที่ดี มีศิลปะในการพูด ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดให้เกียกับคนที่เราพูดด้วย

4.สายตา สาตตาจะบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด คนที่คิดดีสายตาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตร ไม่เสแสร้ง... อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 สารเสพติดให้โทษ


ยาเสพติดให้โทษ

ยาเสพติดให้โทษเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในการป้องกันและปราบปรามเพื่อขจัดให้หมดสิ้นไป ปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง โดยการเร่งปราบปรามผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง เพิ่มมาตรการในการควบคุมตัวสารสำคัญและสารประกอบที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด รวมทั้งเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิด นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐหลายแห่งได้ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดมากขึ้น ซึ่งสามารถบรรเทาปัญหายาเสพติดในประเทศไปได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามยาเสพติดเป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมานาน การปราบปรามยาเสพติดวิธีเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด การสร้างภูมิความรู้ให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนให้ทราบและตระหนักถึงภัยร้ายของยาเสพติด รวมทั้งการปลูกฝังหรือสร้างค่านิยมให้ต่อต้านยาเสพติดจึงเป็นการป้องกันปัญหายาเสพติดได้อีกวิธีหนึ่ง... อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา


ยาทุกตัว ย่อมมีทั้งคุณและโทษควบคู่อยู่ด้วยเสมอ ในการใช้ยาจึงต้องใช้อย่างรู้เท่าทันว่ายาแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไร, ใช้ขนาดเท่าไหร่, นานเท่าไหร่ และอาจมีโทษอะไรได้บ้าง ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ
อันตรายของยา
อันตรายของยาอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
   - กินแอสไพริน  ขนาดมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ถึงตายได้
   - กินพาราเซตามอลขนาดมาก ๆ อาจทำลายตับ เกิดภาวะตับวายเฉียบพลันถึงตายได้
   - กินฟีโนบาร์บิทาล  ขนาดมาก ๆ ทำให้กดศูนย์ควบคุมการหายใจ ผู้ป่วยหยุดหายใจถึงตายได้

   - กินยารักษาเบาหวานมากเกิน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นลม ถึงตายได้... อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ใส่ใจความปลอดภัย

ภัยในบ้าน

บ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เพราะที่อยู่อาศัยของคนเรา ปกติแล้วในบ้านน่าจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับคนในบ้าน แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่จะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุที่ไม่คาดคิดภายในบ้าน เช่น
   1.การพลัดตกหกล้ม อาจเกิดขึ้นภายในบ้านและอาจทำให้บาดเจ็บ จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล้านี้ด้วย
1.1 ควรล้างห้องน้ำให้สะอาดเสมอไม่ให้ลื่น เพราะอาจทำให้ลื่นล้มในห้องน้ำได้ จนอาจหัวฟาดพื้นได้ จนถึงต้องเข้าโรงพยาบาล
1.2 การยกของขึ้นหรือลงบันได อย่าละสายตาจากทางเดินหรือยกของหนักจนเกินไป
1.3 ถ้าพื้นบ้านปูนหรือกระเบื้องน้ำหก จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรเช็ดให้แห้งทันที

   2. ภัยจากไฟฟ้า  ขณะนี้แทบจะ 100%ที่ทุกครั้งหลังใช้ไฟฟ้าใช้แล้ว จึงอาจเกิดเหตุที่อันตรายมาก เพราะเราไม่สามารถมองเห็นไฟฟ้าได้ และวิธีมีการป้องกันดังนี้... อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สุขภาพชุมชน

ความหมายและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ
การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีท้างทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานทางด้านสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นระบบสุขภาพเป็นระบบสร้างนำซ่อม กล่าวคือเดิมสุขภาพเป็นระบบตั้งรับ คือรอให้เจ็บป่วยแล้วจึงนำมาซ่อมหรือนำมารักษา ทำให้ประชาชนคนไทยเจ็บป่วยและตายก่อนวัยอันควร... อ่านต่อ

โรคทางพันธุกรรม


โรคทางพันธุกรรม หรือ โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็น โรคที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดพันธุกรรมของฝั่งพ่อและแม่ หากหน่วยพันธุกรรมของพ่อและแม่มีความผิดปกติแฝงอยู่ โดยความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการผ่าเหล่าของหน่วยพันธุกรรมบรรพบุรุษ ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมได้

          ทั้งนี้ โรคทางพันธุกรรม นี้ เป็นโรคติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดย โรคทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม 2 ประการ คือ ความผิดปกติของออโตโซม (โครโมโซมร่างกาย) และความผิดปกติของโครโมโซมเพศ... อ่านต่อ          

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 โรคจากการประกอบอาชีพ และพันธุกรรม

โรคจากการทำงาน

โรคผิวหนังจากการทำงาน
โรคผิวหนังเป็นปัญหาสำคัญ และเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับสี่ของประเทศ  เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย  หากมีการดูแลการใช้ไม่เหมาะสมจะทำให้ผู้ที่สัมผัสเกิดอาการระคายเคืองและภูมิแพ้ที่ผิวหนัง  อาการลักษณะนี้มักเป็น ๆ หาย ๆ ทำให้เกิดปัญหาด้านร่างกายและจิตใจของผู้ที่เป็นโรค  การรักษาโรคผิวหนังนั้นมักจะทำได้โดยการบรรเทาอาการ  และที่สำคัญคือ  ต้องกำจัดสาเหตุ และสภาพที่อาจทำให้เกิดอาการของโรคผิวหนัง
สาเหตุการเกิดโรคผิวหนังจากการทำงาน
การเกิดโรคผิวหนังจากการทำงาน มีสาเหตุหลัก ดังนี้
1. สาเหตุจากสารเคมี
2. สาเหตุจากการสัมผัส การเสียดสีและการกระแทก
3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

4. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพอ่านต่อ